ความรู้ หมายถึง ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อมและกรอบการทำงานสำหรับการประเมิน และรวมกันของประสบการณ์และสารสนเทศใหม่ (Davenport and Prusak
ดังนั้นสรุปได้ว่า ความรู้ (Knowledge) ตามความหมายที่มีผู้ให้นิยามไว้หลายประเด็นหมายถึง สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆซึ่งอาจจะรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ
ประเภทของความรู้ ความรู้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ความรู้ที่มีอยู่ในตัวตนของเรา หรือความรู้ที่อยู่รูปแบบสื่อหรือเอกสาร
- ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ จากพรสวรรค์ หรือเกิดจากความสามารถในการรับรู้ของบุคคลที่เกิดจากการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดได้ เช่น ทักษะในการทำงาน และการคิดวิเคราะห์
- ความรู้ที่อยู่ในรูปแบบสื่อหรือเอกสาร เป็นความรู้ที่ชัดเจนสามารถรวบรวมหรือถ่ายทอดความรู้นั้นๆด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เขียนหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร บันทึกเทป หรือวิธีการอื่นๆ
ความรู้เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก เนื่องจากมีความเป็นนามธรรมสูง แต่หากศึกษาประเภทและความหมายของความรู้ที่มีผู้ให้คำนิยามไว้อย่างกว้างขวางและมีความหลากหลาย ก็สามารถทำความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปฎิบัติได้ไม่ยาก
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) การ จัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น